รมช.มหาดไทย เปิดงาน “เชิดชูพระยารัษฎาฯ บิดายางพาราไทย” และมหกรรมการยางพารา ประจำปี 2562
2019-08-07 08:57:02
รมช.มหาดไทย เปิดงาน “เชิดชูพระยารัษฎาฯ บิดายางพาราไทย” และมหกรรมการยางพารา ประจำปี 2562
วันที่ 5 ส.ค. 2562 เวลา 19.00น.นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน เชิดชู พระยารัษฎา บิดายางพาราไทย และมหกรรมยางพารา ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย ภาคใต้ตอนกลาง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ อำเภอเมืองตรัง โดยมี นายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวต้อนรับ นายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายกสมาคมการยางแห่งประเทศไทย นายก อบจ.บึงกาฬ และนายประพันธุ์ ศรีสุวรรณ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา คณะกรรมการจัดงานร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูคุณงามความดีของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อดีตเจ้าเมืองตรัง ผู้ที่นำยางพารามาปลูกที่จังหวัดตรัง เป็นแห่งแรกของประเทศไทย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และได้วางรากฐานการพัฒนาเมืองตรัง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการคมนาคม
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นเจ้าเมืองตรัง เมื่อปี 2433 เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้วางรากฐานการพัฒนาเมืองตรังในทุกด้าน ได้มีการตัดถนนสายเขาพับผ้า ตรัง - พัทลุง เพื่อเชื่อมภาคใต้ฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย เป็นถนนสวยที่สุดสายหนึ่ง นอกจากนี้ได้สร้างท่าเทียบเรือส่งสินค้าไปต่างประเทศที่เมืองกันตัง อำเภอกันตัง พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (มหิศรภักดี คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้นำเมล็ดยางพาราจากมลายูมาปลูกครั้งแรกที่เมืองตรัง เมื่อ พ.ศ.2442
ต่อมาให้พระสถลหลานชายนำเมล็ดยางพารามาปลูกเป็นแถวเป็นแนว มีลักษณะเป็นสวนยางที่เมืองกันตังจนเป็นยางแถวแรก เมื่อปี 2444 และได้เป็นตัวอย่างให้ชาวตรังทำสวนยางพารา ต่อมาได้ขยายไปสู่ทุกจังหวัดในภาคใต้ และจังหวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นนักพัฒนานักปกครอง ที่ทำให้เมืองตรังเป็นเมืองสงบร่มเย็นสืบต่อมา ดังคำขวัญประจำจังหวัดตรังที่ว่า “เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา”
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-