นายก อบจ.สงขลา หารือหัวหน้าส่วนเกษตร เตรียมพบรมว.เกษตร
2023-12-12 12:42:05
วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ที่ห้องประชุมอบจ. นายกไพเจน มากสุวรรณ์ นายกอบจ.สงขลา ประชุมปรึกษารือกับหัวหน้าส่วนราชการ สังกัดกระทรวงเกษตร ได้แก่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสงขลา ศูนย์วิจัยยางสงขลา และ สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา
ประเด็นการหารือคือข้อเสนอต่อท่าน ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.กระทรวงเกษตรฯ ในการทำความร่วมระหว่าง อบจ.สงขลา กับหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ความร่วมมือเรื่อง การส่งเสริม GAP เนื่องจากแผนงานปกติของกระทรวงเกษตรฯ ทำได้จำกัด หากต้องการให้ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดสงขลาจะต้องใช้เวลาหลายปี จึงควรสร้างความร่วมมือจาก อบจ. ให้สามารถขยายงานได้ดีขึ้น
2. ความร่วมมือเรื่อง การแก้ไขปัญหา ยางพาราเป็นโรคใบจุดกลมจากเชื้อรา collectotrichum ที่ทำความเสียหายในพื้นที่วงกว้างส่งผลให้ผลผลิต ของเกษตรกรลดลง 30-50% สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ในพื้นที่เป็นอย่างมาก ซึ่งหน่วยงานเกษตร จะต้องอาศัยความร่วมมือจาก อบจ. ทั้งการจัดการโรคและการเสริมเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง
3. ความร่วมมือด้านตลาดกลางสินค้าเกษตร ซึ่ง เป็นข้อเสนอมาจากเกษตรกรในหลายพื้นที่ โดยภาระกิจที่เกี่ยวข้องนี้ มีในบทบาทอตก. สงขลา และ อบจ.สงขลา ที่จะต้องสร้างความร่วมมือกัน รวมทั้งเชื่อมตลาดอื่นๆ เช่น ตลาดสหกรณ์ ตลาดสีเขียว ที่จะเปิดช่องทางให้เกษตรกร และผู้ประกอบการ ได้จำหน่ายสินค้า และเป็น แหล่งการค้าส่ง
4 ความร่วมมือในระบบการส่งเสริมการเกษตร ที่ให้ตำบลเป็นศูนย์กลาง
อบจ.สงขลา ได้ตั้งกองส่งเสริมการเกษตรแล้ว จึ่งมีแนวความคิดในการเชื่อมโยงระบบการส่งเสริมการเกษตร ลงไปสู่ระดับตำบล บนฐานความคิด ให้ตำบลเป็นศูนย์กลาง เพิ่มความสามารถตำบลให้จัดการตนเองได้
โดยรูปแบบที่นายกอบจ.สงขลานำเสนอคือ เสนอให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีนโยบายเร่งให้ อบต. เทศบาล จัดตั้งกองส่งเสริมการเกษตรในระยะยาว เพื่อดูแลการเกษตรของตำบลได้ดียิ่งขึ้น และจะเชื่อมกับ อบจ เมื่อมีกองส่งเสริมการเกษตรในอบต ก็ให้มีการปรับบทบาทหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ โดยให้งานบริการทางการเกษตร เช่น การสงเคราะห์ เยียวยา ซึ่งไม่ได้เป็นงานวิชาการทางปรัชญาการเสริมการเกษตรให้ไปอยู่กับอบต ส่วนสำนักงานเกษตรอำเภอไปเน้นการทำงานวิชาการ และเกษตรตำบล สามารถสมัครใจโอนย้ายมาทำงานที่อบต.ได้ ซึ่งจะเป็นการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ลดภาระส่วนกลาง ให้ท้องถิ่นดูแลท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น
5. ความร่วมมือในการส่งเสริมอาชีพ เช่น โครงการปรับนาเป็นร่องสวนทำไร่นาสวนผสม ซึ่งเหมาะสมกับภูมิสังคมสงขลาในการจัดการแหล่งน้ำในไร่นาไปพร้อมกับการปลูกพืช ประมง ปศุสัตว์ และสามารถทำได้ทั้งในและนอกเขตชลประทาน และโครงการอื่นๆ
6. รูปแบบความร่วมมือ ควรจะต้องมีการ MOU ในระดับกระทรวง และระดับจังหวัด เพื่อเกิดข้อตกลงความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ นอกเหนือจากการร่วมกันสนับสนุนในการทำงานโครงการที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน
.... ธัชธาวินท์ สะรุโณ รายงาน
-
-
-
-
-
-