อนาคต พรุฉิมพลี ตำบลเชิง อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
2024-04-30 15:10:01
นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร เป็นผู้แทน อบจ. สงขลา มารับฟังการรายงานผลวิจัย โดย สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ให้ทุนคณะสิ่งแวดล้อม มอ. ศึกษาแนวทางพัฒนา การประชุมวันนี้ เป็นการรายงานผลงานวิจัย โดยมี หน่วยงานราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน อบต เกษตรกร เข้าร่วมประชุม
พรุฉิมพลี การใช้ประโยชน์ที่ดินปี 2563 มีพื้นที่ทั้งหมด 3.05 ตารางกิโลเมตร เป็นป่าพรุสมบูรณ์ 944 ไร่ หรือ 1.513 ตารางกิโลเมตร หรือ 73.7% เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ 769 ไร่ หรือ 0.54 ตารางกิโลเมตร หรือ 26.3%
การใช้พื้นที่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่มีการถือครอง 60% มีโฉนด 62 แปลง ที่เหลือเป็นป่าพรุและสวนปาล์มน้ำมัน
พรุ ความหลากหลายทางชีวภาพ ปี2566 มีนก 64 ชนิด มีพืช และสัตว์น้ำ หลายชนิด
ปี 2530 ประกาศเป็นพื้นที่ป่า ภายใต้การดูแลของ สนง.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่5 สงขลา
สถานการณ์น้ำแล้ง มีน้ำเค็มเข้า
โจทย์งานวิจัยเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งน้ำสำรอง ผลการศึกษาการ
กรณีไม่ขุด ให้ศึกษาการจัดการน้ำเข้าน้ำออกให้เหมาะสม การสร้างประตูระบายน้ำ หากสูบน้ำไป 50% ใช้ทำนาจะได้ประมาณ 1,160 ไร่
กรณีขุด จะไม่ขุดในป่าพรุสมบูรณ์ แต่จะขุดในพื้นที่อื่นๆ
ลึก 2 เมตร จะกระทบผู้ถือครอง
43 แปลง พร้อมจัดสร้างรัะบบการบริหารน้ำให้เหมาะสม จะได้น้ำรวมทั้งพื้นที่ 3 ล้านลบ.ม จะมีพื้นที่ได้ประโยชน์ทำนาได้ 1,257 ไร่
มีข้อเสนอแนะดีๆที่มอง อย่างรอบด้าน จากผู้เข้าร่วมประชุม โดยเฉพาะ จาก ประชาชนเกษตรกรผู้นำ ในพื้นที่ ที่บอกในมิติ วิถีชีวิต มิติทรัพยากร มิติเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม มิติ การขับเคลื่อน การพัฒนา
นายธัชธาวินท์ ได้ให้ข้อเสนอแนะดังนี้
1. การศึกษาครั้งนี้เพื่อการเกษตร อย่างเดียว ควรมีการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์การพัฒนาเชิงอนุรักษ์ ควบคู่กันไปด้วย จะได้มีข้อมูลครบถ้วน เพื่อวางแผนการพัฒนาทั้งระบบ
2. ศึกษารูปแบบพัฒนาที่เหมาะสม การขุดแหล่งน้ำที่เหมาะสม พื้นที่ควรให้ยังคงมี พื้นที่ป่าพรุสมบูรณ์ พื้นที่แหล่งน้ำ และ การจัดการพื้นที่เกษตรที่ในพรุ นอกพรุที่เหมาะสม และการใช้ประโยชน์ในเชิงการท่องเที่ยว
3. พลุฉิมพลี ควรพัฒนาทั้งระบบ ได้แก่ ปรับพื้นที่เพื่อให้มีปริมาณน้ำจีดเพิ่มขึ้น ภายใต้การอนุรักษ์พื้นที่พรุ การทำประตูน้ำ การจัดหาเครื่องสูบน้ำ การส่งน้ำ การทำการเกษตรที่เหมาะสม
เช่น ต้นน้ำทำนา กลางน้ำปลูกผัก ปลายน้ำขุดร่องสวน
โดยราชการควรทำงบประมาณโครงการลงทุนในทุกๆด้านอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะการปรับพื้นที่นาเป็นร่องสวนเพื่อปลูกพืชอื่นๆ
4. ปัญหาน้ำ ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลากำลังจะจัดประชุมหารือการจัดการภัยแล้งในพื้นที่รอบทะเลสาบ นายกไพเจน มากสุวรรณ์ นายกอบจ มีแนวความคิดในการที่จะสนับสนุนให้จัดหาแหล่งน้ำ เช่น แก้มลิงบก หรือ แก้มลิงในทะเลสาบ
หาก มีความเป็นไปได้ และเหมาะสมในทุกมิติ ในทางปฏิบัติ ก็คิดว่า หลายๆหน่วยงาน จะสามารถ ไปจัดทำเป็นโครงการได้
ชุมชนต้องการพรุ ส่งต่อให้ลูกหลาน มีแหล่งน้ำ มีการเกษตรที่พึ่งพาได้ และวิถีเชิงแสยังคงดีมีความสุข
ภาพ / ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อบจ.สงขลา
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-