อบจ. ร่วมประชุมความมั่นคงทางอาหาร ในการประชุมภาคีเครือข่ายบูรณาการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในจังหวัดสงขลา(เตรียมเวที โชว์ แชร์ เชื่อม แผนงานอาหาร)
2024-07-12 19:27:46
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 - 15.30 น. ณ ห้องประชุม 1401 ชั้น 14 สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคารทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงอรรถกวีสุนทร (ตึก LRC) อาคาร 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
นายธัชธาวิน สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร อบจ. สงขลา เข้าร่วมการประชุมภาคีเครือข่ายบูรณาการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในจังหวัดสงขลา(เตรียมเวที โชว์ แชร์ เชื่อม แผนงานอาหาร) โดยการประชุมมีการชี้แจงเป้าหมายและวัตถุประสงค์การจัดประชุมกรอบการวิเคราะห์ระบบอาหาร ตลอดห่วงโซ่ โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การขับเคลื่อนงานระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ โดย ผู้แทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Mapping ต้นทุน ศักยภาพการเคลื่อนงานระบบอาหาร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกัน และ ออกแบบ กลไก การขับเคลื่อนงานระบบอาหารจังหวัดสงขลา โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แบ่งกลุ่มจัดทำข้อมูลสถานการณ์อาหารในจังหวัดสงขลา
กลุ่มที่ 1 เกษตร
กลุ่มที่ 2 ประมง
กลุ่มที่ 3 ปศสัตว์
กลุ่มที่ 4 การขับเคลื่อนระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
ชี้แจงการจัดเวทีโชว์ แชร์ เชื่อม และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมงานของจังหวัดสงขลา
โดย ธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร เป็นผู้แทน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้เสนอแนวคิดดังนี้
1. การขับเคลื่อนระดับสากล
การประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 (The Food Security Roadmap towards 2030) เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2021 สำหรับแผนพัฒนาแผนงานความมั่นคงอาหาร มุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 กำหนดวัตถุประสงค์ 6 ประเด็นหลัก ได้แก่
1) เพิ่มการมีอาหารในปริมาณที่เพียงพอมีคุณภาพที่เหมาะสมและมีคุณค่าทางโภชนาการในภูมิภาค
2) ตอบสนองต่อความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) อำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
4) เพิ่มการมีส่วนร่วมในระบบอาหาร โดยส่งเสริมความก้าวหน้าในการสร้างโอกาสในด้านต่างๆ
5) เพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานอาหารของภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก และ
6) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน
ทางนิวซีแลนด์ยังได้กำหนดจัดสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 4 - 7 พฤษภาคม 2021 เพื่อหารือใน 4 หัวข้อหลัก คือ
1) การสร้างความยืดหยุ่นในระบบอาหารของเอเปกเพื่อลดผลกระทบและสามารถรับมือจากแรงกดดัน ความตึงเครียดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
2) การส่งเสริมระบบอาหารแบบองค์รวมสำหรับ SMEs สตรีและชนพื้นเมือง
3) การเพิ่มผลผลิตประสิทธิภาพและนวัตกรรม และ
4) กำหนดเป้าหมายที่ชาญฉลาดและการติดตามการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. นโยบายรัฐบาลไทยมีประเด็นที่ไทยควรผลักดันเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเปก ที่สำคัญ คือ การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ - เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio - Circular - Green Economy : BCG Economy นโยบาย “3S” ของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งเรื่อง Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร
3. แนวคิด การจัดการผลิตพืชเพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านรายได้และความมั่นคงด้านอาหารของชุมชนเกษตร
ภาคชุมชนเกษตร จะมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ เกษตรกรพึ่งพาการผลิตพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นเวลานาน เมื่อเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ขาดเสถียรภาพทางรายได้ ส่วนด้านความมั่นคงทางอาหาร พบว่าระบบพืชเชิงเดียวทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางอาหาร คุณภาพและความปลอดภัยทางอาหาร พบว่ามีปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิต และมักเกิดปัญหาผลผลิตเสียหายจากภัยแล้งและน้ำท่วม ชุมชนยังพึ่งพาผลิตผลจากภายนอกเป็นหลักและยังไม่มีการจัดการระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
แนวทางในการพัฒนา
1) การจัดการพืชทั้งระบบทั้งองค์รวมของการผลิตพืชชุมชน โดยใช้แนวคิดการจัดการความมั่นคงทางอาหารตามตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของ FAO (2017) ที่นำเสนอการวัดความมั่นคงทางอาหาร 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
Food availability คือ มี ปริมาณ และความหลากหลายอาหาร
Food access คือการเข้าถึงอาหาร อันเกิดจากระบบการกระจาย หรือความสามารถในการถือครองทรัพยากร
Food Stability คือเสถียรภาพทางอาหาร ความต่อเนื่อง ไม่มีความเสี่ยงจากความเปราะบางต่างๆ
Food Utilization คือ คุณภาพอาหาร คุณค่าทางโภชนาการและความสะอาดปลอดภัย
2) เน้นการสร้างเสถียรภาพด้านรายได้ของเกษตรกร เพื่อให้สามารถเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม สนับสนุนให้ชุมชนทำการเกษตรของท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชน ลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอก ส่งเสริมการทำการเกษตรตามหลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ครัวเรือนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นในพื้นที่มีบทบาทดำเนินการให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในมิติต่างๆ แนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร และการเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ (climate smart agriculture)
3) พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และการเข้าถึงอาหาร (Food access) โดยทำการวิเคราะห์โซ่อุปทาน ห่วงโซ่คุณค่า ปัญหาการผลิตพืช จากนั้นทำการพัฒนา ทดสอบ ทดลองหาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช พร้อมพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า เช่น การสร้างอัตลักษณ์ การรับรองมาตรฐาน แปรรูป พัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการเชื่อมโยงการตลาด
4) พัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชผสมผสานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และความเพียงพอ ความหลากหลายทางอาหาร (Food availability) โดยสำรวจวิเคราะห์ ความหลากหลายและความเพียงพอของพืชอาหารและพืชใช้ประโยชน์ต่างๆ จากนั้นทำการพัฒนาและทดสอบหารูปแบบการปลูกพืชผสมผสาน 9 กลุ่ม ได้แก่ พืชอาหาร พืชรายได้ พืชสมุนไพรสุขภาพ พืชสมุนไพรป้องกันกำจัดศัตรูพืช พืชอนุรักษ์ดินและน้ำ พืชอาหารสัตว์ พืชอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น พืชใช้สอย และพืชพลังงานหรือเชื้อเพลิง โดยมีการจัดรูปแบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ พร้อมกับพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มตามความเหมาะสมของสินค้า
5) พัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชปลอดภัยและพืชอินทรีย์ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย(Food Utilization) โดยสำรวจวิเคราะห์ สารพิษตกค้างในพืชอาหาร จากนั้นทำการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ พร้อมพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มตามความเหมาะสมของสินค้า
6)พัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชที่ยืดหยุ่นจากการได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านรายได้และเสถียรภาพทางอาหาร (Food Stability) โดยสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิเคราะห์ climate smart agriculture พัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีและรูปแบบการผลิตพืชที่เหมาะสม เช่น การปรับสภาพพื้นที่ การปรับฤดูปลูก การปลูกแบบโรงเรือน การเลือกชนิดพืชที่เหมาะสม เป็นต้น พร้อมพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มตามความเหมาะสมของสินค้า
7). พัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมความมั่นคงทางอาหารในชุมชนแบบมีส่วนร่วม(food security Innovation Platform) โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารชุมชน ประชุมผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เกษตรกร ผู้รวบรวม ผู้บริโภค อบตำบล/เทศบาล หน่วยวิจัย โรงเรียน โรงพยาบาล และตลาดชุมชน จัดทำแผนพัฒนา จัดทำข้อตกลง มอบหมายภารกิจ จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนการพัฒนา
การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมต้นแบบ (smart community) โดยจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ พัฒนาสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างอัตลักษณ์ชุมชน จัดเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและอาหาร และมีการทดลองขยายผลงานวิจัย โดยการจัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยี และทดลองขยายผลไปสู่ชุมชนเครือข่าย
9) กระบวนการขับเคลื่อน
ใช้การพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action ) และการพัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมในการวิจัยทางการเกษตร (innovation platforms in agricultural research)
ภาพ/ข่าว : นายธัชธาวิน สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร อบจ. สงขลา
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-