นายกฯ อบจ.สงขลา เสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่าย (อสก.อบจ.) เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนชุมชน พัฒนาการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ มุ่งสู่ผลสำเร็จในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
2024-08-26 20:30:42
วันที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 น.
"นายกไพเจน" ฝาก กลุ่มผู้นำเกษตรกรที่เข้ารับการอบรม ทำแผนการเกษตรในพื้นที่ระยะยาว เพื่อ อบจ.มาจัดทำเป็นแผนแม่บท ในอันที่จะสร้างความมั่นคง และยั่งยืนในการทำอาชีพเกษตร รวมถึงฝากพืชเศรษฐกิจ นอกจากมะพร้าวน้ำหอมแล้ว ยังมี จำปาดะ พืชที่เป็นที่นิยมในตลาดมาเลเซียและจีนเป็นทางเลือกอีกชนิดหนึ่ง ที่จะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการพัฒนาอาสาสมัครเกษตร อบจ.(อสก. อบจ.) หลักสูตรที่ 2 ตามโครงการพัฒนาเครือข่ายด้านการเกษตร ปีงบประมาณ 2567 โดยมี นางสุกัญญา มากสุวรรณ์ นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร อบจ.สงขลา นางสุภาณี วรจินต์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ อบจ.สงขลา ประธานอาสาสมัครเกษตร อบจ.สงขลาในพื้นที่ 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา และอาสาสมัครเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรม ร่วมในพิธีปิด พร้อมกันนี้ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้มอบประกาศเกียรติบัตรให้แก่อาสาสมัครเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรม และมอบใบแต่งตั้งให้แก่ประธานหมอพืชเกษตรทั้ง 16 อำเภอของจังหวัดสงขลา ในโครงการดังกล่าว ณ ห้องประชุมบ้านซูซูกิ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
จากการที่กรมส่งเสริมการเกษตรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา บูรณาการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อพัฒนาการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของพื้นที่ มุ่งสู่ผลสำเร็จในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้หลุดพ้นจากห่วงโซ่ความยากจน และการเพิ่มคุณภาพสินค้าเกษตรมูลค่าสูง วิธีการระเบิดจากข้างใน โดยใช้กองส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้น เป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาสาสมัครเกษตรอบจ.ให้มีความรู้ ความสามารถในการขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรของชุมชนท้องถิ่น เป็นต้นแบบการพัฒนาทางการเกษตร และเป็นผู้แทนชุมชนในการพัฒนาการเกษตรของชุมชนท้องถิ่นร่วมกับอบจ.สงขลา และเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลากับกลุ่มเกษตรกร เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ ภาคการเกษตร ภาคเอกชน และภาคประชาชน ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างแรงกระตุ้นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการฝึกอบรมอาสาสมัครเกษตรกรของ อบจ.ในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันสร้างเครือข่ายด้านการเกษตรของจังหวัดสงขลา ช่วยกันคิด และหาจุดเด่นด้านต่างๆของแต่ละอำเภอ เพื่อช่วยกันพัฒนาโครงการส่งเสริมการเกษตร และร่วมให้ข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เพื่อจะได้นำไปวางระบบงานด้านอาสาสมัครเกษตรกรของ อบจ.ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร และประชาชนจังหวัดสงขลาต่อไป รวมถึงให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์ตามแผนที่วางไว้ อันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย "สงขลามหานครแห่งการเกษตร" ร่วมกัน
นายกไพเจนกล่าวว่า ครั้งนี้เป็นกิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่าย และร่วมหารือโครงการจัดทำเพื่อส่งเสริมการเกษตรของอาสาสมัครเกษตร เพื่อที่จะของบประมาณจาก อบจ.ไปจัดทำโครงการ ในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ ซึ่งทางผอ.กองยุทธศาสตร์และงบประมาณก็ได้ให้คำแนะนำในการเขียนโึครงการคั้งแต่วัตถุประสงค์ เป้าหมายตัวชี้วัดและสิ่งที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนถึงผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นซึ่งก็ต้องคุ้มค่า และมีผลกำไร ซึ่งจะอยู่ที่การบริหารงานของกลุ่มต่างๆ เพราะต้องของบประมาณในนามกลุ่ม ตั้งแต่ใครอยู่กลุ่มต้นน้ำ คือกลุ่มผลิต กลุ่มกลางน้ำ ได้แก่กลุ่มสินค้าแปรรูป และกลุ่มปลายน้ำในเรื่องของการขายหรือจำหน่ายสินค้า ซึ่งตลาดในปัจจุบัน ทาง อบจ.ได้นำร่องในเรื่องของหนึ่งตำบล หนึ่งตลาด เกษตร แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควรในบางพื้นที่ ร่วมกับสภาเกษตร สมาชิกสภาเกษตรในแต่ละอำเภอร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และสจ.อบจ.ในท้องที่ ซึ่งอาจจะอยู่ที่การประชาสัมพันธ์ของแต่ละพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ก็ต้องมาวิเคราะห์กันอีกครั้งหนึ่งว่าเกิดจากปัจจัยอะไรขณะนี้ทาง อบจ.สงขลาได้ทำครบทั้ง16 อำเภอ จึงอยากฝากทุกคนในพื้นที่ไว้ด้วย และไปพบกับแกนนำสภาเกษตรในพื้นที่ หรือสมาชิกสภาเกษตร สจ. อบจ.และผู้นำท้องถิ่น ว่าจุดไหนที่ควรจะทำ หรือทำแล้วเอาสินค้ามาขายแล้วมีคนมาซื้อ ก็จะทำให้ผู้ขายมีกำลังใจ ซึ่งวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้วอยากเให้เป็นสินค้าอาพืชผลทางการเกษตรมาแลกเปลี่ยนกัน อย่างสทิงพระมี อาหารทะเล ผัก กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง แต่ไม่มีผลไม้ ก็ต้องเอาผลไม้อีกที่หนึ่งมาขาย แต่ก็ยังติดปัญหาในเรื่องของการเดินทาง ซึ่งอาจจะไม่คุ้มทุน จึงไม่มีสินค้ามาแลกเปลี่ยนได้ หรืออย่างเอาสินค้าคาบสมุทรสทิงพระไปตลาดเทพา สะบ้าย้อย ต้อง เอาน้ำผึ้งโหนด น้ำตาลโหนด เอาปลาเค็ม กะปิไปขาย ก็จะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตรกันเป็นต้น อันนี้ถ้าเป็นไปได้ก็อยากเอาสินค้าของแต่ละอำเภอไปแลกเปลี่ยนกัน จึงจอฝากเรื่องนี้ไว้พิจารณาด้วย ซึ่งก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกจากการส่งเสริมรายบุคคล ซึ่งก็จะขัดกับระเบียบของทางราชการ ซึ่งจะส่งเสริมได้เกษตรกรต้องตั้งกลุ่มขึ้นมา ก็จะของบประมาณได้
การขายปัจจุบัน เราอย่าไปกังวล ในปีหน้าผมจะให้ทำกลุ่มขายออนไลน์ ปีละ 4-5 รุ่นเกี่ยวกับการขายออนไลน์ เพราะเดี๋ยวนี้ระบบขนส่งมีมากทั้งของเอกชน และไปรษณีย์ที่ออกมาให้บริการขนส่งแข่งกับเอกชน แต่ทั้งนี้การส่งสินค้า ต้องอยู่ที่ความซื่อสัตย์ที่เราต้องมีต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ อาชีพเกษตรถือเป็นอาชีพที่สำคัญ เพราะถ้าเราทำให้ดีก็จะเป็นอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน และร่ำรวย แต่เราต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้สินค้ามีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และจะช่วยลดต้นทุน ทั้งในเรื่องของการวัดค่าของดิน เกี่ยวกับความเป็นกรด หรือด่าง ของน้ำ ความเข้มข้นของปุ๋ยก็เช่นกัน เหล่านี้ต้องใช้วิชาการเข้ามาช่วย ก็จะทำให้การผลิตการเกษตรเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จในอาชีพการทำเกษตร ซึ่งต่อไปก็จะมีหลักสูตรเหล่านี้มาให้กับกลุ่มอาสาเกษตรที่เรามี นอกจากขนิดพืชที่ปลูกจากคันนา ก็มีพืชขนิดอื่นที่เป็นทางเลือกหนึ่งก็คือปลูกมะพร้าวน้ำหอม เพราะไม่ใช้น้ำมาก และไม่เหนื่อยเหมือนทำนา เพียงขุดร่องปลูกครั้งเดียวและดูแลก็กินไปได้ 20-30 ปี ผลผลิตก็ดี และถ้าเราตั้งเป็นกลุ่มมะพร้าวน้ำหอม ก็จะสามารถกำหนดราคาได้ แต่ยังเขื่อว่ามะพร้าวยังเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และยั่งยืน
นายกกล่าวต่อว่า จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่ทาง อบจ สงขลาได้จัดอบรมในครั้งนี้ เพื่อให้แต่ละอำเภอมาเขียนโครงการของตัวเอง จึงอยากจะฝากในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องของการทำเกษตร และพืชอีกชนิดหนึ่งในเขต อำเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และสะเดาเป็นพืชตัวเลือกหนึ่งนั่นคือ จำปาดะ เป็นพืชที่ราคาไม่มีตก มีหลายพันธุ์และราคาสามารถกำหนดเองได้ นี่เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผมตั้งใจที่จะส่งเสริม สนับสนุน เพราะเดี่ยวนี้ตลาดมาเลเซีย หรือจีนก็มี และก็ชอบ จึงถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่จะมาแทน พวกพืชที่ปลูกในปัจจุบันอย่างยางพารา ปาล์ม ซึ่งต้องขายให้กับโรงงานมารับซื้ออย่างเดียว แต่นี้เราสามารถขายได้ทุกที่ทั้งตลาดนัด หรือขายออนไลน์ก็ได้ รวมถึงตลาด อตก ก็ยังมี จึงเป็นพืชทางเลือกอีกหนึ่งที่น่าสนใจ ที่เกษตรกรอาสาสมัครเกษตรกรประจำอำเภอต่างๆ ต้องไปดูในบริบทในพื้นที่ของตนเองว่า เหมาะที่จะทำอะไร ทั้งในเรื่องของดิน ในเรื่องของน้ำ ในเรื่องของอากาศ และชนิดของพืชที่จะปลูกให้เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่ ทั้งการดูแลก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ จึงต้องมาจัดทำแผน 5 ปี เพื่อจะได้มีอนาคต มีเป้าหมายว่าในแต่ละปีทำอะไรบ้าง ครบทั้งพื้นที่กี่พันไร่ เช่นปลูกจำปาดะในอำเภอสะบ้าย้อย เทพา สะเดา กำหนดเอาไว้ 5 ปีเห็นผล มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่เราต้องมีแผนระยะยาว เพื่อขั้นตอนในการทำงาน จึงฝากผู้นำทั้งหลายไว้ด้วย ไปคิด และทำแผนในการพัฒนาด้านการเกษตรของเราว่า มีแผนด้านไหนบ้าง รวมแต่ละแผนใช้งบประมาณเท่าไหร่ และอบจ.ก็จะได้แผนตรงนี้เป็นแม่บท ในการพัฒนาเกษตรของจังหวัดสงขลาของเรา ให้มั่นคง ยั่งยืน และมีเงินใช้
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-