อบจ.สงขลา ร่วมการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนำเสนอสงขลาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และคณะทำงานขับเคลื่อนการเข้าสู่บัญชีรายชื่อ (Tentative List) เพื่อนำเสนอสงขลาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ครั้งที่ 3/2567
2024-09-11 17:40:17
วันนี้ (11 ก.ย. 67) ที่ห้องประชุมสำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา นางสุรียพรรณ์ ณ สงขลา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนำเสนอสงขลาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และคณะทำงานขับเคลื่อนการเข้าสู่บัญชีรายชื่อ (Tentative List) เพื่อนำเสนอสงขลาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ครั้งที่ 3/2567 โดยมี นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธาน พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ และคณะทำงานฯ เข้าร่วม
ตามที่คณะกรรมการมรดกโลก ได้มีมติเห็นชอบให้พื้นที่แหล่งมรดก "สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา" บรรจุเข้าในเว็บไซต์บัญชีรายชื่อเบื้องต้น "Tentative List" ขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ที่ผ่านมา นับเป็นแหล่งที่ 6 ของประเทศไทย โดยใช้ชื่อแหล่งมรดก “สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา” Songkhla and its Associated Lagoon Settlements ประกอบด้วย 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณสีหยัง เมืองโบราณพะโคะ เมืองโบราณสทิงพระ เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดง และแหลมสน และเมืองเก่าสงขลา บ่อยาง โดยทั้ง 4 แหล่ง มีทะเลสาบสงขลาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน ซึ่งยังไม่มีแหล่งมรดกโลกใดที่มีทะเลสาบได้เป็นมรดกโลก ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งที่เราสามารถใช้ในการนำเสนอการเป็นมรดโลกต่อไป โดย “สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา“ Songkhla and its Associated Lagoon Settlements ได้บรรจุรายชื่อขึ้นไปอยู่ในเว็บไซต์ของศูนย์มรดกโลกของ UNESCO เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 เป็นลำดับที่ 7 ของประเทศไทย
และเพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนแหล่งมรดก “สงขลา และชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา" มีความสมบูรณ์ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการบูรณาการกับองค์กรภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ในการศึกษาสำรวจศักยภาพเพื่อนำเสนอสงขลาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนนำเสนอสงขลาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประกอบด้วย 8 คณะ ดังนี้ 1.คณะกรรมการที่ปรึกษา 2.คณะทำงานประสานงานการบริหารจัดการพื้นที่ (Coordinating Unit) 3.คณะทำงานการจัดทำเอกสารนำเสนอแหล่งมรดกสงขลา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก 4.คณะทำงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟูโบราณสถาน และมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในพื้นที่องค์ประกอบ 5.คณะทำงานการจัดการท่องเที่ยว 6.คณะทำงานด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยาและทะเลสาบสงขลา 7.คณะทำงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 8.คณะทำงานฝ่ายประชาสัมพันธ์
โดยในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมเป็นที่ปรึกษาในคณะที่ 1 เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหา กำกับ ดูแล สนับสนุน การดำเนินงานกับคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ และคณะทำงานในคณะที่ 2 เพื่อประสานงานนโยบาย โครงการ กฎระเบียบ และงบประมาณภาครัฐ เพื่อยกระดับจังหวัดสงขลาเข้าสู่สากล รวมถึงวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ เมื่อแหล่งมรดกสงขลาได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก
ภาพ/ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ อบจ.สงขลา
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-