ป.ย.ป. เปิดหลักสูตรให้เจ้าหน้าที่อปท.เข้าถึง โดยส่งข้อเสนอโครงการ
2024-12-02 17:05:26
วันนี้ 2 ธันวาคม 2567 สำนักงาน ปจป. ได้จัด ประชุม ออนไลน์ เพื่อชี้แจง การจัดทำข้อเสนอ ประเด็นการบูรณาการ ภายใต้
หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง: ผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
โดย นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร เข้าร่วมประชุม ในฐานะ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อบจ.สงขลา ตามที่นายกอบจ. มอบหมาย และได้จัดทำข้อเสนอ ประเด็นบูรณาการ เรื่อง "กองส่งเสริมการเกษตรใน อบจ. มิติใหม่ของการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากภาคเกษตรไทย"
ความเป็นมา
สํานักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สํานักงาน ป.ย.ป.) มีภารกิจและหน้าที่ในการจัดฝึกอบรมและประเมินผลหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ทุกระดับ เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมหลักสูตรฯ เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้ “หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง: ผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.)" ที่มุ่งเน้นการทํางานในเชิงบูรณาการผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (STO Polio Innovation Lab) ระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สํานักงาน ป.ย.ป. ได้รับมอบหมายนโยบายและแนวทางการดําเนินการหลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นําแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) โดยให้ปรับปรุงการดําเนินการให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน มุ่งเน้นการขับเคลื่อนที่ตอบโจทย์นโยบายสําคัญและเร่งด่วนของรัฐบาล มีกระบวนการ Bottom-up โดยไม่ใช่การกําหนดประเด็นจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว แต่เปิดโอกาสให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สามารถเสนอ "ประเด็นการบูรณาการ" ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และสามารถนํามาเป็นต้นแบบในการขยายผลการดําเนินการต่อไปยังพื้นที่อื่นได้ โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานและมีการบูรณาการทรัพยากรในการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านนโยบายสําคัญของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (STO Policy Innovation Lab) โดยยึดความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลางสร้างเครื่อข่ายการขับเคลื่อนเชิงบุรณาการระหว่างภาครัฐ และภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง
ผู้เข้าร่วมหลักสูตร ป.ย.ป.
ป.ย.ป. 1 ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าที่ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตำแหน่งในปีงบประมาณนั้น หรือที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการบูรณาการที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อนให้เห็นผล เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดย ป.ย.ป. 1 ทําหน้าที่เป็นผู้ให้คําปรึกษา (Project Advisor) เพื่อผลักดันแผนการขับเคลื่อนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ป.ย.ป. 2 ได้แก่ รองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า ทั้งจากส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการบูรณาการที่ต้องการขับเคลื่อน รวมทั้งรองหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ ประเภทอื่น เช่น องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ โดยมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่าง ป.ย.ป. 1 ป.ย.ป. 3 และ ป.ย.ป. 4 โดยนําประเด็นการบูรณาการไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและพัฒนาเป็นข้อเสนอเพื่อการพัฒนาที่นําสู่ การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วและสามารถดําเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ป.ย.ป. 3 ได้แก่ เจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับพื้นที่ ทั้งในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งรับผิดชอบ งานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการบูรณาการที่ได้รับการคัดลือกไปดำเนินการขับเคลื่อนที่เกิดผลเป็นรูปธรรม ร่วมกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้นําชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนประเด็นการบูรณาการไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรปธรรม
ป.ย.ป. 5 ได้แก่ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการบูรณาการที่ต้องการ ขับเคลื่อน โดยเป็นข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษขึ้นไป หรือข้าราชการกําลังคนคุณภาพ หรือข้าราชการ ผู้มีศัยภาพ ทําหน้าที่ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมภาครัฐ (Public Innovator) และเป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อน นโยบายไปสู่การปฎิบัติ
หลักสูตร ป.ย.ป. เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ผ่านกระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (STO Policy Innovation Lab) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่ยึดประชาชนหรือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง โดยเปิดให้ประชาชน มีส่วนร่วมตั้งแต่การแสดงความคิดเห็น การออกแบบต้นแบบนวัตกรรม และทดสอบต้นแบบก่อนนําไปขยายผล ดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการทํางานเชิงบูรณาการให้กับผู้เข้าร่วมหลักสูตรเป็นระยะ ตลอดระยะเวลาหลักสูตร โดยมีรายละเอียดกิจกรรมตลอดหลักสูตร ดังนี้
(1) การจัดทําข้อเสนอประเด็นการบูรณาการ โดยสํานักงาน ป.ย.ป. เปิดรับข้อเสนอประเด็น การบูรณาการจากพื้นที่ (Call for Proposal) โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานในระดับ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เสนอประเด็นการบูรณาการ เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกประเด็น บูรณาการภายในวันที่ 6 มกราคม 2568
(2) การคัดเลือกข้อเสนอประเด็นการบูรณาการ สํานักงาน ป.ย.ป. พิจารณาคัดเลือก ประเด็นบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ โดยอาจมีการนําเสนอประเด็น การบูรณาการในรูปแบบ Pitch Presentation เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ หน่วยงานส่วนกลางเห็นภาพรวมและร่วมตัดสินใจ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
(3) กิจกรรมกระบวนการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเชิงนโยบาย (STO Policy Innovation Lab) เป็นกิจกรรมีผู้ข้าร่วมหลักสูตร ได้แก่ ป.ย.ป.1,ป.ย.ป.2, ป.ย.ป.3 และ ป.ย.ป.4 ร่วมพัฒนา ต้นแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการพัฒนา
STO สํานักงาน ป.ย.ป. - trategic Office หลักสูตร ป.ย.ป. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต้นแบบการบูรณาการทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อนําไปสู่การแก้ไขปัญหา และนําประเด็นการบูรณาการไปทดสอบในพื้นที่นําร่อง ช่วงเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2568
(4) การนําเสนอผลการขับเคลื่อน เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมนําเสนอผลการขับเคลื่อน ประเด็นบูรณาการ พร้อมแนวทางการขยายผลต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย ประมาณเดือนสิงหาคม 2568
(5) การติดดตามและขยายผลการคําเนินการไปยังพื้นที่อื่น ๆ เป็นการกํากับและติดตาม การดําเนินการและการขยายผลการดําเนินการไปยังพื้นที่อื่นๆ และรายงานผลการดําเนินการ ให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
ภาพ/ข่าว: กองส่งเสริมการเกษตร อบจ. สงขลา
-
-
-
-