ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับปากเกษตรกร จะส่งเสริมสงขลามหานครมะพร้าวน้ำหอม
2025-02-19 08:35:03
18 กุมภาพันธ์ 2568 ที่สวนผู้ใหญ่เอ็มตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รองเลขาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เลขา มกอช ผอ.อตก
หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรฯ มาพบปะผู้นำท้องถิ่นท้องที่ เกษตรกร ผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมสงขลา และ นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมต้อนรับและบรรยายสรุปบทบาท อบจ สงขลา ในการส่งเสริมมะพร้าวน้ำหอม
โดย นายไพเจน มากสุวรรณ์ และ สส เขต4 สงขลา นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว กล่าวต้อนรับ
นาย อภิชาติ ยุพยงค์ รายงานการทำสวนมะพร้าว นายไพฑูรย์ พรหมวิจิตร รองประธาน คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมสงขลามหานครมะพร้าวน้ำหอม นำเสนอประเด็นการขอสนับสนุนการส่งเสริม
ท่านรัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวถึงเจตนารมย์ในการมาตรวจราชการคือการรับฟังปัญหาจากเกษตรกร ซึ่งวันนี้มีอธิบดีกรมต่างๆที่มาร่วมรับฟังและจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาให้พี่น้องเกษตรกร
รมว.นฤมล กล่าวว่า วันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มาดูความสำเร็จของแปลงนาข้าวที่ปรับเปลี่ยนเป็นมะพร้าวน้ำหอมซึ่งมีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่าย “สงขลามหานคร” ทั้งนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ พร้อมเสริมศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น โดยมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดวางแผนขยายพื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพ จำนวน 2,000 ไร่ในปีนี้ รวมถึงจัดอบรมเกษตรกรให้มีความพร้อมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมอย่างเป็นระบบ อีกทั้ง จัดหาตลาดรับซื้อมะพร้าวน้ำหอมในช่วงออกผลผลิต เพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันพืชมูลค่าสูง อาทิ ตาลโตนด กาแฟโรบัสต้า และอื่น ๆ ให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจบนพื้นที่ที่เหมาะสม และจัดหาตลาดรองรับตามนโยบายตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ของรัฐบาล เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ด้าน นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรฯ ต้องการให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข และสามารถทำการเกษตรได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น เราจะทำงานอย่างแข็งขันเพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอมและตาลโตนดได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด”
นายไพเจน มากสุวรรณ์ อดีตนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้กล่าวถึงการส่งเสริมอาชีพปลูกพืชที่จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรที่ควรทำการส่งเสริม เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าวน้ำหอม มะม่วงเบาและพิมเสนเบา ที่จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการทำนา และมะพร้าวน้ำหอมก็มีศักยภาพสูง ซึ่ง อบจสงขลา ได้รวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่ต้องการปรับนาเป็นร่องสวนมะพร้าวส่งให้กรมพัฒนาที่ดินแล้วประมาณ 2000 ไร่
นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว กล่าวถึงความเดือดร้อนเกษตรกร การแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ และตั้งข้อสังเกตผลกระทบเชิงลบต่อการพัฒนาเมืองกรณีหากขึ้นทะเบียนมรดกโลก เป็นต้น
นายอภิชาติ ยุพยงค์ เจ้าของสวนมะพร้าวน้ำหอมผู้ใหญ่เอ็ม ประธานมะพร้าวน้ำหอมแปลงใหญ่ กล่าวถึงการดำเนินการของสวนและการร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งด้านหมอดิน ร่วมงานวิจัยกับกรมวิชาการเกษตร ร่วมแปลงใหญ่กรมส่งเสริมการเกษตร
นายไพฑูรย์ พรหมวิจิตร รองประธาน คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคมสงขลามหานครมะพร้าวน้ำหอม นำเสนอการขอสนับสนุน คือ
ประเด็นที่1 ขอบคุณท่านรัฐมนตรี ที่ได้รับเรื่อง ข้อเสนอ จากเครือข่าย เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ตอนที่ท่านรัฐมนตรี มาเยี่ยม ชาวอำเภอสทิงพระและ ท่านได้สั่งการ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2568 ให้กรมต่างๆ ช่วย สนับสนุน แก้ไขปัญหาทำให้ ปัญหาบางส่วน ได้รับการแก้ไขไปบ้างแล้ว
ประเด็นที่ 2 เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ การ พัฒนาและส่งเสริมมะพร้าวน้ำหอมสงขลา ยังขับเคลื่อนไม่ชัดเจน จึง เรียนมายังท่านรัฐมนตรี ได้พิจารณามอบหมายให้ กรมใดกรมหนึ่ง ได้เป็นเจ้าภาพหลัก จัด ทำโครงการส่งเสริมมะพร้าวน้ำหอมสงขลาครบวงจรสู่การเกษตรมูลค่าสูง
โดยให้มีกิจกรรม
1. ขุดร่องสวน ปลูกมะพร้าว ของกรมพัฒนาที่ดิน ปีละ1000 ไร่
2 จัดตั้งศูนย์ดินปุ๋ยชุมชน ของกรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนเครื่องผสมปุ๋ยและกองทุนหมุนเวียนปุ๋ย อินทรีย์และเคมี เพื่อลดต้นทุนด้านใช้ปุ๋ย อำเภอ 1 แห่ง รวม 4 แห่ง
3 จัดหาพันธุ์ดี ของกรมวิชาการเกษตร รองรับ ปีละ 1000 ไร่ หรือ 44,000 ต้น โดยใช้พันของกรมวิชาการเกษตร หรือคัดเลือกพันธุ์ดีในพื้นที่
4 จัดหาเครื่องปอกควั่น
แก่กลุ่มวืสาหกิจ จากกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่ม มะพร้าว ผลสด สู่ตลาดท่องเที่ยวและตลาดห้างสรรพสินค้า จำนวน อำเภอ ละ 1 กลุ่ม รวม 4 กลุ่ม
5. คลินิคมะพร้าวน้ำหอม ขอสนับสนุนชุด Test kit วิเคราะห์ดิน จากกรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน
6. การจัดฝึกอบรม ดูงาน เพื่อ พัฒนาการผลิต ให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
ถ้าสามารถดำเนินการอย่างนี้ได้คาดว่า จะทำให้ เกิดเศรษฐกิจ
เพิ่มขึ้นจากมะพร้าวน้ำหอม ไร่ละ 6 หมื่นบาท หรือ ปีละ 60 ล้านบาท จากโครงการแต่ละปี และการลงทุนโครงกานี้จะทำให้เกิดอาชีพและรายได้ 600 ล้านบาท ในเวลา 10 ปี
ประเด็น ที่3. ขอนำเรียนท่านรัฐมนตรี ว่าตอนนี้ จังหวัดสงขลา โดย อบจ สงขลา ได้มีการตั้ง คณะกรรมการเครือข่ายภาคประชาสังคม สงขลามหานครมะพร้าวน้ำหอม ขึ้นมา 1 คณะ เพื่อทำหน้าที่ทำงานเชื่อม ประสาน ระหว่าง เกษตรกร กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ต่อไป
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-