อบจ.สงขลา ร่วมส่งเสริมสงขลาเมืองสมุนไพร

    2025-03-06 15:01:00
    วันที่ 6 มีนาคม 2568 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มอบหมายนายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ร่วมประชุมเสวนาเมืองสมุนไพร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา ได้รับจัดสรรงบประมาณดําเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ (สมุนไพร) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2568 จากสํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขับเคลื่อนการผลิตพืชสมุนไพรในจังหวัดและส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ในการผลิตพืชสมุนไพรให้มีคุณภาพมาตรฐาน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลาจึงได้กําหนดจัดเวทีวิเคราะห์พื้นที่และศักยภาพของเกษตรกร และกระบวนการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชสมุนไพรให้กับกลุ่มพืชสมุนไพรอําเภอสิงหนคร จํานวน 30 ราย ในวันที่ 6 มีนาคม 2568 ณ สวนเทพหยา ตําบลป่าชาด อําเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ทั้งนี้สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลา ได้เชิญ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เข้าร่วมกิจกรรมการเสวนา หัวข้อเรื่อง "พืชสมุนไพรและการเชื่อมโยงตลาดพืชสมุนไพรในจังหวัดสงขลา ดำเนินรายการ โดย นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ผู้ร่วมเสวนา คุณธีรวัฒน์ สุดขาว แพทย์แผนไทยชำนาญการ คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คุณมูฮัยมีน นีมานิ นักวิทยาศาสตร์สุขภาพ แพทย์แผนไทยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คุณสิรษา จันทร์เพ็ญ ผู้จัดการบริษัทประจวบเภสัชกรรม สมุนไพร จำกัด คุณสีรวุฒิ เอียดทอง เภสัชกร ชำนาญการพิเศษโรงพยาบาลสิงหนคร และคุณขวัญหทัย กลิ่นนาวี แพทย์แผนไทยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สงขลา โดยการเสวนาครั้งนี้ อบจ.สงขลา ได้เสนอแนะนำแนวทางส่งเสริมสมุนไพรชุมชน และการผลักดันอำเภอสิงหนครเป็นเมืองต้นแบบสมุนไพร โดยที่วัดวาส ต.วัดหนุน อ.สิงหนคร มีการสืบสานภูมิปัญญาสมุนไพรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีการผลิต บริหารจัดการ และแจกจ่าย สะท้อนให้เห็นถึงมรดกภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และเป็นต้นแบบที่ดีที่ให้วัดเป็นแหล่งสืบสานรักษา และเชื่อมโยงกับชุมชนในการมีส่วนร่วมผลิตและใช้การพัฒนาของวัด หากมีการเชื่อมโยงกับโครงการตามแนวพระราชดำริ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชก็จะทำให้เพิ่มคุณค่ามากขึ้น ในส่วนการขับเคลื่อนของชุมชนสมุนไพร เดิม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายเดชอิศม์ ขาวทอง ได้ลงมาขับเคลื่อนสมุนไพรร่วมกับ อบจ.สงขลา และหลายๆภาคส่วนในตำบลป่าขาด ให้เป็นชุมชนต้นแบบที่มีการใช้สมุนไพรรับมือกับโควิด 19 ได้มีการรวมตัวกันกับภาครัฐและเอกชน ทำการปลูกฟ้าทะลายโจร แล้วนำมาบรรจุแคปซูลแจกจ่ายให้กับประชาชน เป็นตัวอย่างของการใช้ประโยชน์สมุนไพรตามวิถีของชุมชน ซึ่งรูปแบบนี้ควรมีการขยายต่อยอด โดยดำเนินการให้นำสมุนไพรมาดูแลสุขภาพในรูปแบบการปลูกบรรจุแคปซูลและแบ่งปัน ขณะเดียวกันก็แนะนำให้เชื่อมโยงกับโครงการพระราชดำริอนุรักษ์พันธุกรรมพืชด้วย สมุนไพรเป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขและภาคส่วนต่างๆควรให้การสนับสนุน เพราะหากประชาชนนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพทำให้สุขภาพดีก็จะทำให้ลดปริมาณคนที่จะเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ลดภาระ ของรัฐบาลในการดูแลรักษาคนเจ็บป่วยได้มากมาย ควรที่จะมีการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านการช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น และคิดเป็นมูลค่าที่จะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณจากการ ใช้ดูแลผู้ป่วย ให้ เห็น ชัด เจน ว่า รัฐ ควร ทำ การ สนับสนุนสมุนไพรชุมชนอย่างแท้จริงให้มากขึ้น และวางแนวปฏิบัติให้แยกออกมาจากสมุนไพรเชิงการค้าของบริษัทเอกชน ซึ่งจะต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด แตกต่างจากสมุนไพนชุมชน ข้อเสนอในการทำสมุมไพรให้เป็นเกษตรมูลค่าสูง คือส่งเสริมเกษตรกรขายเป็นแคปซูลก็จะได้มูลค่าสูง การส่งเสริมสมุนไพรชุมชนจึงควรแยกกันกับสมุนไพรเชิงอุตสาหกรรม โดยเปิดโอกาสให้เกษตรกรสามารถผลิตและจำหน่ายได้โดยมีการอำนวยความสะดวก เช่น โรงเรือนมาตรฐาน GMP ซึ่งเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถสร้างทำได้ แต่จ้างให้เอกชนที่มีโรงเรือนมาตรฐานบรรจุให้ได้ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกร มีรายได้เพิ่มดีกว่าการขายวัตถุดิบราคาถูก ทั้งนี้ บริษัทประจวบเภสัชกรรมเน้นรับซื้อสมุนไพร เช่น อัคคีทวาน เพชรสังฆาต ขมิ้นชัน ซึ่งขมิ้นจะเข้ายาหลายชนิดโดยยาที่ขายดี เช่น ยาริดสีดวง และยาระบาย การรับซื้อทั่วไปเจอปัญหาปนเปื้อนจุลิยทรีย์ ต้องล้างอย่างดีและอบ จึงอยากได้สินค้าปริมาณมาก แนะให้เกษตรกรทำแห้งสะสมไว้รอปริมาณมากราคาเหมาะสม ส่วนโรงพบาบาลแพทย์แผนไทย มอ. เน้นยาภายนอก ลดปวดกล้ามเนื้อ เช่น ไพลแบบแห้งอายุ 1-2 ปี ไพรสกัดน้ำมันต้องอายุ 2 ปี ตลาดต้องการสูง ในกลุ่มยาระบาย ท้องอีด ตัวรองลงมา คือขมิ้น และพญายอ ต้องการที่มีสารสำคัญสูง และราคาเหมาะ โรงพยาบาลสิงหนคร เน้นผลิตยา โดยสั่งวัตถุดิบแบบผงมาบรรจุ ซึ่งต้องการที่มีสารสำคัญสูง เช่น ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน มะขามแขก แถววัลเปรียง มาทำแคปซูล และในอีก 2 ปี จะตั้งโรงงานสมุนไพร ระหว่างนี้ให้เกษตรกรเตรียมตัวรองรับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ขับเคลื่อนสงขลาเป็นเมืองสมุนไพรตั้งแต่ปี 2561 แต่พัฒนายังไม่สำเร็จ เนื่องจากไม่ค่อยมีคนปลูก มีโรงงานแปรรูป ธกส เคยให้เงินกู้1% ปลูกไพล มีโครงการขมิ้นใต้สายไฟแรงสูง แต่ไม่สำเร็จ บ.เทพไทย เริ่มใช้วัตถุดิบในประเทศ ยุคทองมาใหม่แล้ว มีการเพิ่มโรงงานสมุนไพร เช่น บ.มิตรผล มีตลาดเพิ่ม และรัฐบาลมีนโยบาย ให้ รพ.หายามาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน ตัวไหนแทนได้ทำเลย มี mou กับตลาดไทยให้รับซื้อ มีบริการตรวจสารสำคัญ ของสธ. ปี 2568 ภาครัฐจะเน้นขมิ้น ซึ่งกลุ่มเครื่องแกงก็ต้องการมากและใช้ของจากจังหวัดอื่น ทางภาครัฐให้จังหวัดพัทลุงเป็นแหล่งซื้อ และไทยจะให้สมุนไพรให้เป็น Gift from Thailand ส่วนกระท่อมยังมีความน่าสนใจแต่ยังเป็นตลาดส่งออกเป็นหลัก และพาณิชย์มีการสนับสนุนการตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยสรุปแนวทางการส่งเสริม สมุนไพรชุมชน โจทย์ คือ - สงขลาไม่มีสินค้า - สงขลายังไม่ปลูกจริงจัง แนวทาง คือ - เกษตรกรรวมกลุ่มปลูก เพื่มพื้นที่ให้มีปริมาณมากพอ - ภารรัฐ สนับสนุนวิชาการ การวิเคราะห์สารสำคัญ การรับรองมาตรฐาน และ ปลอดโลหะหนัก ศึกษาแหล่งผลิตที่ให้สารสำคัญสูง เชื่อมโยงต่อยอด จัดหาหาดิน ตรวจดิน ตรวจโลหะหนัก พันธุ์พืชให้สารสำคัญสูง การเก็บรักษาให้ปลอดการปนเปื้อน โดยมีกลุ่มตัวอย่างนำร่องที่ต.ป่าขาด อำเภอสิงหนคร ข้อมูลสนับสนุน โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ (สมุนไพร) สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาการผลิตสมุนไพรเข้าสู่มาตรฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) 2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรในกลุ่มเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน หรือสถาบันเกษตรกรให้ผลิตพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพเข้าสู่มาตรฐาน GAP หรือเกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานอื่น ๆ และมีวิธีการผลิตทําให้สมุนไพรได้สารสําคัญ 3. เพื่อพัฒนาต้นแบบการผลิตสมุนไพรและมีการทําแผนธุรกิจ (Business Model) สมุนไพร 4. เพื่อจัดทําระบบฐานข้อมูลสมุนไพรในภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป้าหมาย - เกษตรกรมีวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ 1,350 ราย - กลุ่มเกษตรกรจํานวน 45 แห่ง มีความรู้ในการทําแผนธุรกิจ (Business Model) สมุนไพร - จํานวนฐานข้อมูลสมุนไพรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 ฐานข้อมูล ตัวชี้วัคความสําเร็จ - เกษตรกร จํานวน 1,350 ราย ในเมืองสมุนไพรและจังหวัดอื่น ๆ มีการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคกนภาพเพื่อข้ามาครฐาน - เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ นําความรู้ไปใช้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 โดยงบประมาณปี 2568 รวมทั้งสิ้น 8,000,000 บาท มีผู้รับผิดชอบหลักคือ กนท. และ กษ.จ. 45 จังหวัด สนับสนุนหน่วยงานภายในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้สงขลามีเป้าหมาย 30 คน รวมเป็นกลุ่มสมุนไพรสิงหนคร ภาพ/ข่าว: นายธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร อบจ.สงขลา